ชนิดของ Moisturizer โรงงานผลิตเครื่องสำอาง

ชนิดของ Moisturizer

รู้หมือไร่? … ชนิดของ Moisturizer (มอยส์เจอร์ไรเซอร์) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท!!

ปัญหา “ผิวแห้ง” คือสภาวะของผิวขาดน้ำ ตัวหลักสำคัญที่จะช่วยให้ผิวมีความนุ่มเนียนและคงความยืดหยุ่นของผิวไว้ การทาครีมหรือโลชั่นเคลือบผิวที่เรียกว่า “มอยส์เจอร์ไรเซอร์” เชื่อว่าหลายคนอาจเข้าใจว่า มอยส์เจอไรเซอร์ทุกตัวนั้นมีหน้าที่แค่ให้ความชุ่มชื้น แต่ความจริงแล้วหน้าที่ของ Moisturizer สามารถแบ่งได้ตามประเภทของ Moisturizer เลยค่ะ น้องไวท์ จะมาอธิบายเรื่องประเภทของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ดังนี้ค่ะ

โรงงานผลิตเครื่องสำอาง

Humectant หลักการของสารนี้ คือ ช่วยดูดซับความชุ่มชื้นมาให้ผิว โดยจะดูดเอาความชื้นจากอากาศและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มาสู่ผิวของเรา ทำให้ผิวของเรามีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้นค่ะ แต่มี ข้อควรระวัง : Humectant นอกจากดูดซับความชุ่มชื้นจากอากาศมาไว้ที่ผิวเราแล้วนั้น หาก RD ตั้งตำรับได้เกิน Dosage อาจไปทำหน้าที่ดึงความชุ่มชื้นออกจากผิวแทนการเก็บความชุ่มชื้นไว้กับผิวค่ะ

ตัวอย่างสารกลุ่ม Humectant ได้แก่ Glycerin, Hyaluronic Acid, Peptides, Aloe Vera

ชนิดของ Moisturizer โรงงานผลิตเครื่องสำอาง

Emollient สารกลุ่มนี้มักจะเป็นจำพวกน้ำมัน ที่มีขั้วบวก (Polar Oil) ทำหน้าที่เคลือบและแทรกซึมร่องผิวในชั้นผิว Epidermis ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น จึงช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิวได้ในระดับหนึ่ง (ประสิทธิภาพในการกักเก็บความชุ่มชื้นน้อยกว่าสาร Humectant, Occlusive

ตัวอย่างสารกลุ่ม Emollient ได้แก่ Shea Butter, Cocoa Butter, Fatty Acids, Plant Oils

ชนิดของ Moisturizer โรงงานผลิตเครื่องสำอาง

Occlusive คือสารที่ป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิว กลไกคือการเคลือบผิวชั้นนอกเอาไว้ สารในกลุ่มนี้จะมีเนื้อหนัก เข้มข้น เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งมาก เพราะจะช่วยล็อคความชุ่มชื้นให้ผิวได้อย่างดี แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งและขาดน้ำเฉย ๆ โดยพื้นฐานอาจจะเป็นคนผิวมัน หรือผิวผสม อาจจะไม่เหมาะกับสารกลุ่ม Occlusive เพราะอาจก่อความรู้สึกหนักผิวค่ะ

ตัวอย่างสารกลุ่ม Occlusive ได้แก่ Silicones, Lanolin, Mineral Oil, Petrolatum

          โดยทั่วไปแล้วมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสารทั้ง 3 กลุ่มนี้อยู่แล้วค่ะ เพื่อให้แต่ละตัวทำงานเสริมกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้การรังสรรตำรับให้มีคุณสมบัติครบ 3 ประการ (ดูดความชุ่มชื้น, มอบความนุ่ม, เคลือบปกป้องการเสียความชุ่มชื้น) โดยที่ให้สัมผัสเนื้อผลิตภัณฑ์ที่ดี (Good texture) นั้นต้องอาศัยการทดสอบ การคิดวิเคราะห์ เพื่อการตั้งตำรับให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่ดี คู่กับสัมผัสที่ดี

          น้องไวท์…เชื่อว่า หากทุกคนเข้าใจถึงความแตกต่างของสารเพิ่มความชุ่มชื้นแต่ละประเภท ก็จะสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวได้ดีขึ้นกว่าเก่า และการผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทีม RD ของน้องไวท์พร้อมให้ความช่วยเหลือและแนะนำเต็มที่ค่ะ