โรงงานผลิตครีมกันแดด OEM SUNSCREEN สร้างแบรนด์ครีมกันแดด

          เป็นที่ทราบกันว่าประเทศไทยนั้นตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ปริมาณแสงแดดที่ส่องมากถึง 4.5-5.5 kWh/sq.m./day ซึ่งภัยคุกคามหลักที่มาพร้อมกับแสงเหล่านี้ คือ รังสี UV (Ultraviolet) และหากผิวพรรณของเรานั้นโดนรังสี UV (Ultraviolet) ที่คลื่นความถี่ต่าง ๆ ย่อมส่งผลเสียในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแนวทางในการปกป้องแสงแดดแบบง่าย ๆ คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดนั่นเอง โรงงานผลิตครีมกันแดด (OEM SUNSCREEN) สร้างแบรนด์ครีมกันแดด

          ไวท์แคร์ เป็น โรงงานผลิตครีมกันแดด และผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดที่ตอบโจทย์เจ้าของแบรนด์ที่อยากเริ่มต้นสร้างแบรนด์ แต่ยังไม่รู้ว่าต้องเลือกครีมกันแดดแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ลูกค้า หรือยังไม่รู้ว่าสูตรไหนที่กำลังฮิตติดตลาด โดยไวท์แคร์มีครีมกันแดดหลากหลายประเภท ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป วันนี้ไวท์แคร์จะพาทุกคนมารู้จักครีมกันแดดไปพร้อมกันค่ะ โรงงานผลิตครีมกันแดด OEM SUNSCREEN สร้างแบรนด์ครีมกันแดด

ประเภทของสารกันแดด

สารกันแดด คือ สารที่ช่วยปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายของรังสี UV (Ultraviolet) ทำหน้าที่ตามกลไกการดูดหรือสะท้อนแสงแดด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

          Physical sunscreen สารกันแดดแบบฟิสิคัล ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันและสะท้อนรังสี UV ออกจากผิว อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อปะการังและระบบนิเวศใต้ทะเล (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I, UVA-II, UVB ได้) แต่จะมีลักษณะเหมือนการฉาบเคลือบบนผิว

          Chemical sunscreen สารกันแดดแบบเคมีคัล ทำหน้าที่ดูดซับรังสีไม่ให้ทะลุผ่านไปยังผิวหนังได้ จะมีความบางเบามากกว่า PHYSICAL แต่บางส่วนผสมอาจจะทำให้ผิววาวมัน หลังทาต้องรอ 15-20 นาที (ปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ทุกตัว แต่การปกป้องจากรังสี UVA-I, UVA-II แตกต่างกันไป)

          Hybrid sunscreen สารกันแดดแบบไฮบริด กันแดดแบบผสมทั้งคุณสมบัติสะท้อนรังสีของ Physical และดูดซับรังสีของ Chemical เอาไว้ ซึ่งจะรวมข้อดีและข้อด้อยของครีมกันแดดทั้ง 2 แบบเข้าไว้ด้วยกัน


ค่า SPF, PA และ PPD คืออะไร

เวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด เคยสังเกตกันไหมคะว่าทำไมค่า SPF, PA และ PPD ถึงแตกต่างกันออกไป ไวท์แคร์มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่า SPF, PA และ PPD มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

          SPF (Sun protection factor) คือ ค่าความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสียูวีบี (UVB รังสียูวีบี มีความยาวคลื่น 290-320นาโนมิเตอร์ สามารถเข้าถึงชั้นหนังกำพร้า และทำร้ายผิวได้ทันที ทำให้เกิดอาการแห้ง แสบ และคัน) ค่าที่ปกป้องการไหม้ของแสงแดดบนผิวเรา ซึ่งจำนวนตัวเลขบ่งบอกประสิทธิภาพที่นานขึ้น เช่น ผิวทนแสง 30 นาที จึงเริ่มแดงเป็นอาการของผิวไหม้แดด หากทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF 30 เท่ากับว่าเราสามารถทนรังสี UVB ได้ 30 เท่า คิดเป็น 30×30 = 900 นาที โดยระบุค่าความสามารถเป็นตัวเลข เช่น SPF 15 ดูดซับ UV-B ได้ 93%, SPF 30 ดูดซับ UV-B ได้ 96%, SPF 50 ดูดซับ UV-B ได้ 98% (ค่า SPF ในประเทศไทย ทางองค์การอาหารและยา ให้ระบุค่า SPF ได้ไม่เกิน 50 ถ้ามากกว่า 50 ก็ให้ระบุเป็น SPF 50+ ตามกฏหมาย)

          PA (Protection uva class) ค่ามาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น แสดงประสิทธิภาพการปกป้องผิว จากอันตรายของรังสี UVA ที่ส่งผลโดยตรงกับคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวคล้ำ แดง หย่อนคล้อย ไม่ตึงกระชับ และเกิดริ้วรอยก่อนวัย โดยการระบุค่า PA ถ้ามี จำนวน + มาก แสดงถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ (UVA รังสียูวีเอ มีความยาวคลื่น320-400นาโนมิเตอร์ เป็นรังสีที่รุนแรง เพราะมันสามารถซึมผ่านผิวหนัง ชั้นหนังแท้ได้มากกว่า UVB และก็เป็นตัวที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ทำลายเซลล์ผิว ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย และยังมีปริมาณมากกว่า รังสี UBV ถึง 10 เท่า)

          PPD (Persistant pigment darkening) ค่ามาตรฐานจากยุโรปเป็นตัวบ่งบอกประสิทธิภาพของการป้องกัน UVA ในสารกันแดด ว่าปกป้องผิวจาก UVA มากกว่าปกติกี่เท่า คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดว่าครีมกันแดดที่ดี ค่า PPD เมื่อนำไปหารกับ SPF แล้วควรได้ค่าประมาณ 3 แต่หากไม่รู้ค่า PPD ที่แน่ชัด ให้สังเกตส่วนผสมต่อไปนี้ Mexoryl XL, Tinosorb, Titanium Dioxide, Zine Oxide, Avobenzone และ Oxybenzone เพราะเป็นส่วนผสมที่กันรังสี UVA ได้ดี หรือเลือกใช้ที่ PPD มากกว่า 10 ขึ้นไป

ไวท์แคร์ มีการทดสอบความมันของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดด โดยทำการหยดครีมกันแดดปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียวลงไปบนกระดาษซับมันและทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และเปรียบเทียบความมันของครีมกันแดด เพื่อให้สะดวกแก่การตัดสินใจเลือกสูตรทำแบรนด์ของลูกค้าแต่ละตัว

หลังจากหยดครีมกันแดดลงกระดาษซับมันเป็นเวลา 15 นาที

โรงงานผลิตครีมกันแดด OEM SUNSCREEN สร้างแบรนด์ครีมกันแดด

          เพียงผ่านไปแค่ 15 นาที จะเห็นได้ชัดเลยนะคะว่ากันแดดตัวไหนมีปริมาณน้ำมัน/ซิลิโคนที่ดูดซับออกมามาก ส่วนผสมเหล่านี้ในครีมกันแดด ทำหน้าที่ต่างกันออกไป เช่น Oil, Silicone ทำหน้าที่ Occlusive ผิว แต่ในอีกมุมจะทำให้ผิวหน้ารู้สึกมันสำหรับท่านที่ผิวมันง่าย

หลังจากหยดครีมกันแดดลงกระดาษซับมันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

โรงงานผลิตครีมกันแดด OEM SUNSCREEN สร้างแบรนด์ครีมกันแดด

          หลังจากทำการทดสอบไปแล้ว 15 นาที จะเห็นได้ว่ากลุ่มครีมกันแดดที่กันน้ำจะมีปริมาณวงซึมที่ใหญ่กว่าสูตรที่ไม่กันน้ำ นั่นเพราะว่าส่วนผสมหลักในสูตรครีมกันแดดประเภท Water Resistant คือ Silicone & Oil นอกจากนี้สารกันแดดบางตัวก็ก่อความมันได้เช่นกัน จึงเห็นได้ว่าสูตรกันแดดที่ SPF สูง ๆ มักจะมัน ๆ เหนอะ ๆ นั่นเองค่ะ

ไวท์แคร์ จะมาแนะนำครีมกันแดดเฉพาะสูตรที่มีสำเร็จรูปมาให้เจ้าของแบรนด์ประกอบการตัดสินใจในการสร้างแบรนด์กันค่ะ และนอกเหนือจากนี้ไวท์แคร์สามารถพัฒนาสูตรครีมกันแดดเพิ่มเติมได้ค่ะ

Previous slide
Next slide

           เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับการรีวิวกันแดดแบบจัดเต็มถึง 7 ตัว ไวท์แคร์หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่กำลังตัดสินใจสร้างแบรนด์กันแดดอยู่นะคะ และหากท่านใดสนใจสร้างแบรนด์ครีมกันแดด สามารถเลือกใช้บริการกับไวท์แคร์ได้นะ

หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อ